เมนู

นิเวศน์อันเป็นสิรินิวาสแห่งจักรพรรดิ เมื่อดาวนักษัตรอุตตราสาฬหะเพ็ญเดือน
อาสาฬหะ เสด็จออกจากพระนคร ได้มีพระประสงค์จะทรงแลดูพระนคร ใน
ลำดับแห่งความตรึกนั่นเอง ภูมิประเทศนั้น ก็แปรเปลี่ยนไปเหมือนจักรแป้น
หมุนทำภาชนะดิน แก่พระองค์ พระมหาสัตว์ทรงยืนอยู่อย่างเดิม ทอดพระเนตร
กรุงกบิลพัสดุ์ ทรงกระตุ้นม้ากัณฐกะให้บ่ายหน้าไปตามทางที่พึงไป แสดง

เจดีย-
สถาน ชื่อ กัณฐกนิวัตตนะ

ที่ม้ากัณฐกะหันหน้ากลับ ณ ภูมิประเทศนั้น
เสด็จไปด้วยสักการะยิ่งใหญ่ ด้วยเหตุให้เกิดสิริอันโอฬาร.
ครั้งนั้น เมื่อพระมหาสัตว์กำลังเสด็จไป เทวดาทั้งหลายชูคบเพลิง
จำนวนหกล้านดวงข้างหน้าพระมหาสัตว์นั้น ข้างหลังก็หกล้านดวงเหมือน
กัน ข้างขวาก็หกล้านดวง ช้างซ้ายก็เหมือนกัน เทวดาพวกอื่น ๆ อีก
ก็สักการะด้วยพวงมาลัยดอกไม้หอม จุรณจันทน์ พัดจามรและธงผ้า ห้อม
ล้อมไป สังคีตทิพย์และดนตรีเป็นอันมาก ก็บรรเลงได้เอง.
พระโพธิสัตว์ เสด็จไปด้วยเหตุที่ให้เกิดสิริอย่างนี้ เสด็จหนทาง 30
โยชน์ผ่าน 3 ราชอาณาจักร ราตรีเดียวเท่านั้น ก็ถึงริมฝั่งแม่น้ำอโนมา.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ทรงยืน ณ ริมฝั่งแม่น้ำ ตรัสถามนายฉันนะว่า
แม่น้ำนี้ชื่อไร ทูลตอบว่า แม่น้ำอโนมา ทรงใช้ส้นพระบาท กระแทกม้าให้
สัญญาณแก่ม้า ม้าก็โดดไปยืนอยู่ริมฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำซึ่งกว้าง 8 อุสภะ พระ
โพธิสัตว์เสด็จลงจากหลังม้า ประทับยืนที่หาดทรายเสมือนกองแก้วมุกดา เรียก
นายฉันนะมาตรัสสั่งว่า สหายฉันนะ เจ้าจงนำอาภรณ์ของเรากับกัณฐกะกลับไป
เราจักบวช.
นายฉันนะทูลว่า แม้ข้าพระบาทก็จักบวช พระลูกเจ้า. พระโพธิสัตว์
ตรัสว่า เจ้ายังบวชไม่ได้ เจ้าต้องกลับไป ทรงห้าม 3 ครั้งแล้ว ทรงมอบ

อาภรณ์และม้ากัณฐกะแล้วทรงดำริว่า ผมของเราอย่างนี้ ไม่เหมาะแก่สมณะ
จำจักตัดผมเหล่านั้นด้วยพระขรรค์ ทรงจับพระขรรค์อันคมกริบด้วยพระหัตถ์
ขวา รวบพระจุฬาพร้อมด้วยพระเมาลีด้วยพระหัตถ์ซ้ายแล้วตัด เหลือพระเกศา
สององคุลีเวียนขวา ตัดพระเศียร พระเกสาเหล่านั้นก็มีประมาณเท่านั้น จน
ตลอดพระชนมชีพ ส่วนพระมัสสุ ก็เหมาะแก่ประมาณพระเกสานั้น แต่พระ-
องค์ไม่มีกิจที่จะต้องปลงพระเกศาและพระมัสสุอีกเลยนี้ พระโพธิสัตว์ทรงรวบ
พระจุฬาพร้อมด้วยพระเมาลี อธิษฐานว่า ถ้าเราจักเป็นพระพุทธเจ้าไซร้ ผมนี้
จงตั้งอยู่ในอากาศ ถ้าไม่เป็นไซร้ ก็จงหล่นลงเหนือพื้นดิน แล้วเหวี่ยงไปใน
อากาศ กำพระจุฬามณีนั้น ไประยะประมาณโยชน์หนึ่งแล้วก็ตั้งอยู่ในอากาศ.
ลำดับนั้น ท้าวสักกะเทวราชทรงตรวจดูด้วยจักษุทิพย์ ทรงเอาผอบรัตนะ
ขนาดโยชน์หนึ่งรับกำพระจุฬามณีนั้น แล้วทรงสถาปนาเป็นพระจุฬามณีเจดีย์
สำเร็จด้วยรัตนะ 7 ประการ ขนาด 3 โยชน์ไว้ในภพดาวดึงส์ ดังที่ท่านกล่าว
ไว้ว่า
เฉตฺวาน โมลึ วรคนฺธวาสิตํ
เวหายสํ อุกฺขิปิ อคฺคปุคฺคโล
สหสฺสเน โต สิรสา ปฏิคฺคหิ
สุวณฺณจงฺโกฏวเรน วาสโว.
พระผู้เป็นบุคคลผู้เลิศ ทรงตัดพระเมาลีที่อบด้วย
ของหอมอย่างดี ทรงเหวี่ยงขึ้นสู่อากาศ ท้าววาสวะ
สหัสสนัยน์ ทรงเอาผอบทองอย่างดีรับไว้ด้วยเศียร
เกล้า.

พระโพธิสัตว์ทรงดำริอีกว่า ผ้ากาสีเหล่านั้นมีค่ามาก ไม่เหมาะแก่
สมณะของเรา ลำดับนั้น ฆฏิการมหาพรหม สหายเก่าครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า

ของพระโพธิสัตว์นั้น ดำริโดยมิตรภาพที่ไม่ถึงความพินาศตลอดพุทธันดรหนึ่ง
ว่า วันนี้สหายเราออกอภิเนษกรมณ์ จำเราจักถือสมณบริขารไปเพื่อสหายนั้น
จึงนำบริขาร 8 เหล่านั้นไปถวาย คือ
ติจีวรญฺจ ปตฺโต จ วาสี สูจิ จ พนฺธนํ
ปริสฺสาวนญฺจ อฏฺเฐเต ยุตฺตโยคสฺส ภิกฺขุโน.
บริขาร 8 เหล่านี้คือ ไตรจีวร บาตร มีด เข็ม
รัดประคด และผ้ากรองน้ำ เป็นของภิกษุผู้ประกอบ
ความเพียร.

พระมหาบุรุษทรงครองผ้าธงชัยแห่งพระอรหันต์ ถือเพศบรรพชาสูง
สุด ทรงเหวี่ยงคู่ผ้า [นุ่งห่ม] ไปในอากาศ. ท้าวมหาพรหมรับคู่ผ้านั้นแล้ว
สร้างเจดีย์สำเร็จด้วยรัตนะขนาด 12 โยชน์ในพรหมโลก บรรจุคู่ผ้านั้นไว้ข้าง
ใน. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสกะนายฉันนะว่า ฉันนะเจ้าจงบอกแก่พระชนก
พระชนนีตามคำของเราว่า เราสบายดี แล้วทรงส่งไป. แต่นั้น นายฉันนะก็
ถวายบังคมพระมหาบุรุษ ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ส่วนม้ากัณฐกะยืนฟังคำ
ของพระโพธิสัตว์ ผู้ปรึกษากับนายฉันนะ รู้ว่า บัดนี้เราจะไม่เห็นนายของเรา
อีก พอละสายตาของพระมหาบุรุษนั้น ไม่อาจทนวิปโยคทุกข์ได้ ก็หัวใจแตก
ตายไปบังเกิดเป็นเทพบุตรชื่อกัณฐกะ ในภพดาวดึงส์ ซึ่งเป็นภพที่ข้าศึกของ
เทวดาครอบงำได้แสนยาก การอุบัติของกัณฐกะเทพบุตรนั้น พึงถือเอาตาม
อรรถกถาวิมานวัตถุ ชื่อวิมลัตถวิลาสินี. ความโศกได้มีแก่นายฉันนะเป็นครั้ง
ที่ 1 เพราะความตายของม้ากัณฐกะ นายฉันนะ ถูกความโศกครั้งที่ 2 เบียด
เบียน ก็ร้องไห้คร่ำครวญ เดินทางไปด้วยความทุกข์.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ทรงผนวชแล้ว ในประเทศนั้นนั่นแล มีสวน
มะม่วงชื่อ อนุปิยะ อยู่ จึงทรงยับยั้งอยู่ ณ อนุปิยอัมพวัน นั้น 7 วัน ด้วย

ความสุขในบรรพชาภายหลังจากนั้น ก็ทรงสำรวมด้วยผ้ากาสาวะอันดี เหมือน
ดวงรัชนีกรเต็มดวง สำรวมอยู่ในหมู่เมฆที่อาบด้วยแสงสนธยา แม้ลำพัง
พระองค์ก็รุ่งเรืองเหมือนชนเป็นอันมากแวดล้อมแล้ว ทรงทำบรรพชานั้น
เหมือนน้ำอมฤตต้องของเหล่ามฤคและปักษีที่อยู่ป่า ทรงเที่ยวไป พระองค์
เดียวเหมือนราชสีห์ ทรงเป็นนรสีหะ เหมือนควาญผู้ รู้จักลีลาของช้างตกมัน
ยังแผ่นดินให้เบาด้วยฝ่าเท้า เสด็จเดินทาง 30 โยชน์ วันเดียวเท่านั้น ทรง
ข้ามแม่น้ำคงคา ซึ่งคลั่งด้วยฤดูและคลื่น แต่ไม่ขัดข้อง เสด็จเข้าสู่นครราช-
คฤห์ เรือนหลวงอันแพรวพราวด้วยประกายแสงแห่งรัตนะ ครั้นเสด็จเข้าไป
แล้ว ก็เที่ยวแสวงหาภิกษาตามลำดับตรอก. ทั่วทั้งนครนั้นก็สะเทือนเพราะการ
เห็นพระรูปของพระโพธิสัตว์ เหมือนนครนั้นสะเทือน เมื่อช้างธนบาลเข้าไป
เหมือนเทวนครสะเทือน เมื่อจอมอสูรเข้าไป. เมื่อพระมหาบุรุษเสด็จเที่ยวแสวง
หาภิกษา พวกมนุษย์ชาวพระนคร เกิดความอัศจรรย์สำหรับผู้เกิดปีติโสมนัส
เพราะเห็นพระรูปของพระมหาสัตว์ ก็ได้มีใจนึกถึงการเห็นพระรูปของพระ
โพธิสัตว์.
บรรดามนุษย์เหล่านั้น มนุษย์ผู้หนึ่งกล่าวกะมนุษย์ผู้หนึ่งอย่างนี้ว่า
ท่านเอย เหตุอะไรหนอ จันทร์เพ็ญ ที่มีช่อรัศมีที่ถูกภัยคือราหูกำบังแล้ว ยังมาสู่
มนุษยโลกได้. มนุษย์อื่นนอกจากนั้น ก็ยิ้มพูดอย่างนี้ว่า พูดอะไรกันสหาย
ท่านเคยเห็นจันทร์เพ็ญมาสู่มนุษยโลกกันเมื่อไร นั่นกามเทพมีดอกไม้เป็นธง
มิใช่หรือ ท่านถือเพศอื่นเห็นความเจริญของลีลาอย่างยิ่งของมหาราชของเรา
และชาวเมือง จึงเสด็จมาเล่นด้วย. คนอื่นนอกจากนั้นก็ยิ้มพูดอย่างนี้ว่า ท่าน
เอย ท่านเป็นบ้ากันแล้วหรือ นั่น พระอินทรผู้มีสรีระร้อนเรืองด้วยความ
โหมของเพลิงยัญอันเรืองแรง ผู้เป็นท้าวสหัสนัยน์ เป็นเจ้าแห่งเทวดา

มาในที่นี้ด้วยความสำคัญว่า อมรปุระ คนอื่นนอกจากนั้น หัวร่อนิดหน่อย
แล้วกล่าวว่า ท่านเอย พูดอะไรกัน ท่านผิดทั้งคำต้นคำหลัง ท่านผู้นั้นมี
พันคาที่ไหน มีวชิราวุธที่ไหน มีช้างเอราวัณที่ไหน ที่แท้ ท่านผู้นั้นเป็น
พรหม ท่านรู้ว่าคนที่เป็นพราหมณ์ประมาทกันจึงมาเพื่อประกอบไว้ในพระเวทแล
เวทางค์เป็นต้นต่างหากเล่า. คนอื่นที่เป็นบัณฑิตก็ปรามคนเหล่านั้นทั้งหมดพูด
อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้มิใช่พระจันทร์เพ็ญ มิใช่กามเทพ มิใช่ท้าวสหัสนัยน์ มิใช่
พรหมทั้งนั้น แต่ท่านผู้นี้ เป็นอัจฉริยมนุษย์ จะเป็นศาสดาผู้นำโลกทั้งปวง.
เมื่อชาวนครเจรจากันอยู่อย่างนี้ พวกราชบุรุษก็กราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระเจ้าพิมพิสารว่า ข้าแต่สมมุติเทพ เทพ คนธรรพ์ หรือนาคราช ยักษ์ หรือ
ใครหนอเที่ยวแสวงหาภิกษาในนครของเรา. พระราชาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว
ทรงยืน ณ ประสาทชั้นบน ทรงเห็นพระมหาบุรุษเกิดจิตอัศจรรย์ไม่เคยมี ทรงสั่ง
พวกราชบุรุษว่า พวกท่านจงไปทดสอบท่านผู้นั้น ถ้าเป็นอมนุษย์ ก็จักออก
จากนครหายไป ถ้าเป็นเทวดา ก็จักไปทางอากาศ ถ้าเป็นนาคราช ก็จักมุดดิน
ถ้าเป็นมนุษย์ ก็จักบริโภคภิกษาตามที่ได้มา.
ฝ่ายพระมหาบุรุษ มีอินทรีย์สงบ มีพระหฤทัยสงบเป็นประหนึ่งดึงดูด
สายตามหาชน เพราะความงามแห่งพระรูป ทรงแลชั่วแอก รวบรวมอาหาร
ระคนกัน พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ เสด็จออกจากนครทางประตูที่เสด็จเข้า
มา บ่ายพระพักตร์ไปทางตะวันออกแห่งร่มเงาภูเขาปัณฑวะ ประทับนั่งพิจารณา
อาหาร ไม่มีอาการผิดปกติเสวย. แต่นั้น พวกราชบุรุษก็ไปกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระราชา.
ลำดับนั้น พระเจ้าแผ่นดินแคว้นมคธ พระนามว่าพิมพิสาร ผู้อัน
เหล่าพาลชนนึกถึงได้ยาก ผู้มีเขาพระเมรุและเขามันทาระเป็นสาระ ผู้ทรงเป็น
แก่นสารแห่งสัตว์ ทรงมีความตื่นเต้นเพราะการเห็น ที่เกิดเพราะได้สดับคุณของ

พระโพธิสัตว์เหล่านั้น ทรงรีบเสด็จออกจากพระนคร บ่ายพระพักตร์ตรงภูเขา
ปัณฑวะ เสด็จไปแล้ว ลงจากพระราชยาน เสด็จไปยังสำนักพระโพธิสัตว์
อันพระโพธิสัตว์ทรงอนุญาตแล้วประทับนั่งเหนือพื้นศิลา อันเย็นด้วยความรัก
ของชนผู้เป็นพวกพ้องทรงเลื่อมใสในพระอิริยาบถของพระโพธิสัตว์ ทรงได้รับ
ปฏิสันถารแล้ว ทรงถามถึงนามและโคตร ทรงมอบความเป็นใหญ่ทุกอย่างแด่
พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ข้าแต่พระมหาราช หม่อมฉันไม่ประสงค์
ด้วยวัตถุกาม หรือกิเลสกาม หม่อมฉันปรารถนาแต่พระปรมาภิสัมโพธิญาณ
จึงออกบวช. พระราชาแม้ทรงอ้อนวอนหลายประการ ก็ไม่ได้น้ำพระหฤทัย
ของพระโพธิสัตว์ จึงตรัสว่า จักทรงเป็นพระพุทธเจ้าแน่ จึงทูลว่าก็พระ-
องค์เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว โปรดเสด็จมาแคว้นของหม่อมฉันก่อน แล้วเสด็จ
เข้าสู่พระนคร.
อถ ราชคหํ วรราชคหํ
นรราชวเร นครํ ตุ คเต
คิริราชวโร มุนิราชวโร
มิคราชคโต สุคโตปิ คโต.
เมื่อพระนรราชผู้ประเสริฐ เสด็จสู่กรุงราชคฤห์
ซึ่งมีเรือนหลวงอย่างประเสริฐ พระจอมคีรีผู้ประเสริฐ
พระจอมมุนีผู้ประเสริฐ เสด็จไปเป็นเช่นพระยามฤค
[ราชสีห์] เสด็จไปแล้ว ชื่อว่าเสด็จไปดีแล้ว.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เสด็จจาริกไปตามลำดับ เข้าไปหาอาฬารดาบส
กาลามโคตร และ อุทกดาบส รามบุตร ยังสมาบัติ 8 ให้เกิดแล้ว ทรง
ดำริว่า ทางนี้ไม่ใช่ทางแห่งพระโพธิญาณ ไม่ทรงใส่พระหฤทัยถึงสมาปัตติ-
ภาวนานั้นมีพระประสงค์จะทรงตั้งความเพียร จึงเสด็จไปยังอุรุเวลาทรงดำริว่า

ภูมิภาคนี้น่ารื่นรมย์จริงหนอ ทรงเข้าอยู่ ณ ตำบลนั้น ทรงตั้งความเพียรยิ่งใหญ่.
ชน 5 คนเหล่านี้คือบุตรของพราหมณ์ผู้ทำนายพระมหาปุริสลักษณะ 4 คน
และพราหมณ์ชื่อโกณฑัญญะ บวชคอยอยู่ก่อน เที่ยวภิกษาจารไปในคามนิคม
ราชธานีทั้งหลาย บำรุงพระโพธิสัตว์ ณ ที่นั้น. ลำดับนั้น เมื่อพากันบำรุงพระ-
โพธิสัตว์ ผู้ตั้งความเพียรยิ่งใหญ่อยู่ถึง 6 ปี ด้วยวัตรปฏิบัติมีกวาดบริเวณเป็นต้น
ด้วยหวังอยู่ว่า พระโพธิสัตว์จักทรงเป็นพระพุทธเจ้า บัดนี้ จักทรงเป็นพระพุทธ-
เจ้าบัดนี้ อยู่ประจำสำนักของพระโพธิสัตว์นั้น. แม้พระโพธิสัตว์ ก็ทรงยับยั้งอยู่
ด้วยงาและข้าวสารเมล็ดเดียว ด้วยทรงหมายจักทำทุกกรกิริยาอันถึงที่สุด ได้
ทรงตัดอาหารโดยประการทั้งปวง. แม้เทวดาทั้งหลาย ก็นำทิพโอชะใส่ลงตาม
ขุมขนทั้งหลาย.
ครั้งนั้น พระวรกายที่มีสีทองของพระองค์ผู้มีพระกายถึงความซูบผอม
อย่างยิ่ง เพราะไม่มีอาหารนั้นก็มีสีดำ. พระมหาปุริสลักษณะ 32 ก็ถูกปกปิด.
ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ ทรงถึงที่สุดแห่งทุกกรกิริยา ทรงดำริว่า นี้ไม่ใช่ทาง
แห่งพระโพธิญาณ มีพระประสงค์จะเสวยอาหารหยาบ จึงเสด็จเข้าไปบิณฑบาต
ณ คามนิคมทั้งหลาย เสวยพระกระยาหาร. ลำดับนั้น พระมหาปุริสลักษณะ
32 ก็กลับเป็นปกติ พระวรกายมีสีเหมือนสีทอง. ขณะนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์
เห็นพระองค์ ก็คิดว่า ท่านผู้นี้ แม้ทำทุกกรกิริยามา 6 ปี ก็ไม่อาจแทงตลอด
พระสัพพัญญุตญาณได้ มาบัดนี้ยังเที่ยวบิณฑบาตไปในคามนิคมราชธานีทั้ง
หลาย บริโภคอาหารหยาบ จักอาจได้อย่างไร ท่านผู้นี้มักมากคลายความเพียร
ประโยชน์อะไรของเราด้วยท่านผู้นี้ แล้วก็ละพระมหาบุรุษ พากันไปยัง
ป่าอิสิปตนะ กรุงพาราณสี.
สมัยนั้น วันวิสาขบูรณมี พระมหาบุรุษเสวยข้าวมธุปายาส ซึ่งเทวดา
ใส่ทิพโอชะ อันหญิงวัยรุ่นชื่อสุชาดา ผู้บังเกิดในครอบครัวของเสนานีกุฎุมพี

ตำบลอุรุเวลา เสนานิคมถวายแล้ว ทรงถือถาดทองวางลงสู่กระแสแม่น้ำ
เนรัญชรา ปลุกพระยากาฬนาคราชผู้หลับให้ตื่นแล้ว. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์
ทรงพักกลางวัน ณ สาลวัน ซึ่งประดับด้วยดอกไม้หอม มีแสงสีเขียว น่า
รื่นรมย์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราเวลาเย็น เสด็จมุ่งตรงไปยังต้นโพธิพฤกษ์ตาม
ทางที่เทวดาทั้งหลายประดับแล้ว. เทวดานาคยักษ์สิทธาเป็นต้น พากัน
บูชาด้วยดอกไม้ของหอมเครื่องลูบไล้. สมัยนั้น คนหาหญ้า ชื่อโสตถิยะ
ถือหญ้าเดินสวนทางมา รู้อาการของพระมหาบุรุษ จึงถวายหญ้า 8 กำ พระ-
โพธิสัตว์ทรงรับหญ้าแล้วเสด็จเข้าไปยังโคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นอัสสัตถะ ซึ่ง
เป็นวิชัยพฤกษ์อันรุ่งโรจน์กว่าหมู่ต้นไม้ทั้งหลาย คล้ายอัญชันคิรีสีเขียวคราม
ประหนึ่งช่วยบรรเทาแสงทินกร มีร่มเงาเย็น เย็นด้วยพระกรุณา ดังพระหฤทัย
ของพระองค์ เว้นจากการชุมนุมของวิหคนานาชนิด ประดับด้วยกิ่งอันทึบ
ต้องลมอ่อน ๆ โชยมาประหนึ่งฟ้อนรำ และประดุจยินดีด้วยปีติ ทรงทำประ-
ทักษิณพญาอัสสัตถพฤกษ์ 3 ครั้ง ประทับยืนทางทิศอีสาน ทรงจับยอดหญ้า
เขย่า. ทันใดนั่นเอง ก็มีบัลลังก์ 14 ศอก หญ้าเหล่านั้น ก็เป็นเหมือนจิตรกร
วาดไว้. พระโพธิสัตว์ประทับนั่งขัดสมาธิเหนือสันถัตหญ้า 14 ศอก ทรง
อธิษฐานความเพียรประกอบด้วยองค์ 4 ทรงทำลำต้นโพธิพฤกษ์ 50 ศอกไว้
เบื้องหลัง ดังลำต้นเงินที่เขาวางไว้เหนือตั่งทอง กั้นด้วยกิ่งโพธิพฤกษ์เหมือน
ฉัตรมณีไว้เบื้องบน ประทับนั่ง. ก็ยอดอ่อนโพธิพฤกษ์ล่วงลงมาที่จีวรสีทองของ
พระองค์ ก็รุ่งโรจน์เหมือนวางแก้วประพาฬไว้ที่แผ่นทอง.
เมื่อพระโพธิสัตว์ ประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์นั้น วสวัตดีมารเทพบุตร
คิดว่าสิทธัตถกุมารประสงค์จะล่วงวิสัยของเรา บัดนี้เราจักไม่ให้สิทธัตถะกุมาร
นั้นล่วงวิสัย จึงบอกความนั้นแก่กองกำลังของมาร แล้วพากองกำลังมารออก
ไป. ได้ยินว่า ทัพมารนั้น ข้างหน้าของมาร ก็ขนาด 12 โยชน์ ข้างขวาและ

ข้างซ้ายก็อย่างนั้น แต่ข้างหลัง ตั้งอยู่สุดจักรวาล เบื้องบนสูง 9 โยชน์.
ได้ยินเสียงคำราม ดังเสียงแผ่นดินคำราม ตั้งแต่เก้าพันโยชน์.
สมัยนั้น ท้าวสักกเทวราช ทรงยืนเป่าสังข์ ชื่อวิชยุตตระ เขาว่า
สังข์นั้น ยาวสองพันศอก. คนธรรพ์เทพบุตรชื่อปัญจสิขะ ถือพิณสีเหลืองดัง
ผลมะตูม ยาวสามคาวุตบรรเลง ยืนขับร้องเพลงประกอบด้วยมงคล ท้าว-
สุยามเทวราช ทรงถือทิพยจามร อันมีสิริดังดวงจันทร์ยามฤดูสารท ยาวสาม
คาวุต ยืนถวายงานพัดลมอ่อน ๆ. ส่วนท้าวสหัมบดีพรหม ยืนกั้นฉัตรดัง
จันทร์ดวงที่สอง กว้างสามโยชน์ ไว้เบื้องบนพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้แต่
มหากาฬนาคราช อันนาคฝ่ายฟ้อนรำแปดหมื่นแวดล้อม ร่ายคาถาสดุดีนับร้อย
ยืนนมัสการพระมหาสัตว์ เทวดาในหมื่นจักรวาล บูชาด้วยพวงดอกไม้หอม
และจุรณธูปเป็นต้น พากันยืนถวายสาธุการ.
ลำดับนั้น เทวบุตรมารขึ้นช้างที่กันข้าศึกได้ เป็นช้างที่ประดับด้วย
รัตนะ ชื่อคิริเมขละ งามน่าดูอย่างยิ่ง เสมือนยอดหิมะคิรี ขนาดร้อยห้าสิบ
โยชน์ เนรมิตแขนพันแขน ให้จับอาวุธต่าง ๆ ด้วยการจับอาวุธที่ยังไม่ได้จับ.
แม้บริษัทของมารมีกำลังถือดาบ ธนู ศร หอก ยกธนู สาก ผาล เหล็กแหลม
หอก หลาว หิน ค้อน กำไลมือ ฉมวก กงจักร เครื่องสวมคอ ของมีคม มี
หน้าเหมือนกวาง ราชสีห์ แรด กวาง หมู เสือ ลิง งู แมว นกฮูก และมี
หน้าเหมือนควาย ฟาน ม้า ช้างพลายเป็นต้น มีกายต่าง ๆน่ากลัว น่าประหลาด
น่าเกลียด มีกายเสมือนมนุษย์ยักษ์ปีศาจ ท่วมทับพระมหาสัตว์โพธิสัตว์ ผู้
ประทับนั่ง ณ โคนโพธิพฤกษ์ เดินห้อมล้อม ยืนมองดูการสำแดงของมาร.
แต่นั้น เมื่อกองกำลังของมาร เข้าไปยังโพธิมัณฑสถาน บรรดาเทพ
เหล่านั้น มีท้าวสักกะเป็นต้น เทพแม้แต่องค์หนึ่ง ก็ไม่อาจจะยืนอยู่ได้. เทพ

ทั้งหลายก็พากันหนีไปต่อหน้า ๆ นั่นแหละ ก็ท้าวสักกะเทวราช ทำวิชยุตตร-
สังข์ไว้ที่ปฤษฎางค์ ประทับยืน ณ ขอบปากจักรวาล. ท้าวมหาพรหม วาง
เศวตฉัตรไว้ที่ปลายจักรวาลแล้วก็เสด็จไปพรหมโลก. กาฬนาคราชก็ทิ้งนาค-
นาฏกะไว้ทั้งหมด ดำดินไปยังภพมัญเชริกนาคพิภพลึก 500 โยชน์ นอนเอา
มือปิดหน้า ไม่มีแม้แต่เทวดาสักองค์เดียว ที่จะสามารถอยู่ในที่นั้นได้. ส่วน
พระมหาบุรุษ ประทับนั่งอยู่แต่ลำพัง เหมือนมหาพรหมในวิมานว่างเปล่า. นิมิต
ร้าย ที่ไม่น่าปรารถนาเป็นอันมากปรากฏก่อนทีเดียวว่า บัดนี้ มารจักมา ดังนี้.
เมื่อเวลาการยุทธของพระยามาร และของพระ-
ผู้เผ่าพันธุ์แห่งไตรโลก ดำเนินไปอยู่ อุกกาบาตอัน
ร้ายกาจก็ตกลงโดยรอบ ทิศทั้งหลายก็มืดคลุ้มด้วยควัน.
แผ่นดินแม้นี้ไม่มีใจ ก็เหมือนมีใจ ถึงความ
พลัดพราก เหมือนหญิงสาวพลัดพรากสามี แผ่นดิน
ที่ทรงสระต่าง ๆ พร้อมทั้งสาครก็หวั่นไหว เหมือน
เถาวัลย์ต้องลมพัดแรง.
มหาสมุทรก็มีน้ำปั่นป่วน แม้น้ำทั้งหลายก็ไหล
ทวนกระแส ลำต้นไม้ต่าง ๆ ก็คดงอแตกติดดินแห่ง
ภูผาทั้งหลาย.
ลมร้ายก็พัดไปรอบ ๆ มีเสียงอึกทึกครึกโครม
ความมืดที่ปราศจากดวงอาทิตย์ ก็เลวร้าย ตัวกะพันธ์
ก็ท่องไปกลางหาว.
เขาว่า ลางร้ายอันพิลึก ดังกล่าวไม่น่าเจริญใจ
ไม่น่าปรารถนา ทั้งที่อยู่ในอากาศและที่อยู่ภาคพื้นดิน
เป็นอันมาก ก็มีโดยรอบในขณะที่มารมา.

ส่วนหมู่เทพทั้งหลาย เห็นมารประสงค์จะประ-
หารพระมหาสัตว์ ผู้เป็นเทพแห่งเทพนั้น ก็เอ็นดู
พร้อมด้วยหมู่เทพก็พากันทำเสียงว่า หา หา.
แม้ภายหลัง ก็เห็นมารนั้น พร้อมทั้งกองกำลัง
เป็นอันมาก ที่ฝึกมาดีแล้ว พากันหนีไปในทิศใหญ่
ทิศน้อย อาวุธในมือก็ตกไป.
พระผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ผู้แกล้วกล้า ปราศจาก
ภัย ประทับนั่งอยู่ท่ามกลางกองกำลังของมาร เหมือน
พระยาครุฑอยู่ท่ามกลางฝูงวิหค เหมือนราชสีห์ผู้ยิ่งยง
อยู่ท่ามกลางฝูงมฤคฉะนั้น.

ครั้งนั้น มารคิดว่า จักยังพระสิทธัตถะให้กลัวแล้วหนีไป แต่ไม่อาจ
ให้พระโพธิสัตว์หนีไปด้วยฤทธิ์มาร 9 ประการ คือ ลม ฝน ก้อนหิน เครื่อง
ประหาร ถ่านไฟ ไฟนรก ทราย โคลน ความมืด มีใจขึ้งโกรธ บังคับ
หมู่มารว่า พนาย พวกเจ้าหยุดอยู่ไย จงทำสิทธัตถะให้ไม่เป็นสิทธัตถะ จง
จับ จงฆ่า จงตัด จงมัด จงอย่าปล่อย จงให้หนีไป ส่วนตัวเองนั่งเหนือ
คอคชสารชื่อคิรีเมขละ ใช้กรข้างหนึ่งกวัดแกว่งศร เข้าไปหาพระโพธิสัตว์
กล่าวว่า ท่านสิทธัตถะ จงลุกขึ้นจากบัลลังก์. ทั้งหมู่มารก็ได้ทำความบีบคั้น
ร้ายแรงยิ่งแก่พระมหาสัตว์.
ครั้งนั้น พระมหาบุรุษตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนมาร ท่านบำเพ็ญ
บารมีเพื่อบัลลังก์มาแต่ครั้งไร แล้ว ทรงน้อมพระหัตถ์ขวาสู่แผ่นปฐพี. ขณะนั้น
นั่นเอง ลมและน้ำที่รองแผ่นปฐพี ซึ่งหนาหนึ่งล้านหนึ่งหมื่นสี่พันโยชน์ ก็ไหว
ก่อนต่อจากนั้น มหาปฐพีนี้ ซึ่งหนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ก็ไหว 6 ครั้ง. สายฟ้า

แลบและอสนีบาตหลายพันเบื้องบนอากาศ ก็ผ่าลงมา. ลำดับนั้น ช้างคิรีเมขละ
ก็คุกเข่า. มารที่นั่งบนคอคิรีเมขละ ก็ตกลงมาที่แผ่นดิน. แม้พรรคพวกของ
มารก็กระจัดกระจายไปในทิศใหญ่ทิศน้อย เหมือนกำแกลบที่กระจายไปฉะนั้น.
ลำดับนั้น แม้พระมหาบุรุษ ทรงกำจัดกองกำลังของมารพร้อมทั้งตัว
มารนั้น ด้วยอานุภาพพระบารมีทั้งหลายของพระองค์ มีขันติ เมตตา วิริยะ
และปัญญาเป็นต้น ปฐมยามทรงระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยมาแต่ก่อน มัชฌิมยาม
ทรงชำระทิพยจักษุ ปัจจุสมัยใกล้รุ่ง ทรงหยั่งญาณลงในปัจจยาการที่พระพุทธ-
เจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมา ทรงยังจตุตถฌานมีอานาปานะเป็นอารมณ์ให้เกิด
แล้ว ทรงทำจตุตถฌานนั้นให้เป็นบาทแล้ว ทรงเจริญวิปัสสนา ทรงยังกิเลส
ทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยมรรคที่ 4 ซึ่งทรงบรรลุมาตามลำดับมรรค ทรงแทงตลอด
พระพุทธคุณทั้งปวง ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมา ทรงเปล่งพระ-
พุทธอุทานว่า
อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ
คหการํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ
คหการก ทิฏฺโฐสิ ปุน เคหํ น กาหิสิ
สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏํ วิสงฺขตํ
วิสงฺขารคตํ จิตตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา.
เราแสวงหานายช่างผู้สร้างเรือนคือตัณหา เมื่อ
ไม่พบ ก็ต้องท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมาก
การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนนายช่างผู้สร้างเรือน
คือตัณหา เราพบท่านแล้ว ท่านจักสร้างเรือนแก่เรา
อีกไม่ได้แล้ว โครงสร้างเรือนของท่าน เราก็หักหมด

แล้ว ยอดเรือนคืออวิชชา เราก็รื้อเสียแล้ว จิตเราถึง
วิสังขาร ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ เพราะเราบรรลุธรรมที่
สิ้นตัณหาแล้ว.

เรื่องนิทานใกล้



พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อประทับนั่งเปล่งพระพุทธอุทานแล้ว ก็ทรงมี
พระดำริว่า เราท่องเที่ยวมา 4 อสงไขย กำไรแสนกัป ก็เพราะเหตุแห่งบัลลังก์
นี้ บัลลังก์นี้เป็นวิชัยบัลลังก์ มงคลบัลลังก์ของเรา เรานั่งเหนือบัลลังก์นี้ ความ
ดำริยังไม่บริบูรณ์ตราบใด เราก็จักไม่ลุกขึ้นจากบัลลังก์นี้ตราบนั้น ทรงเข้า
สมาบัตินับได้หลายแสนโกฏิ ประทับนั่งเหนือบัลลังก์นั้น 7 วัน ที่ท่านหมาย
ถึงกล่าวไว้ว่า ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข โดย
บัลลังก์เดียว 7 วัน.
ครั้งนั้น เทวดาบางพวกเกิดปริวิตกว่า แม้วันนี้พระสิทธัตถะ ก็ยังมี
กิจที่จะต้องทำแน่แท้ ด้วยยังไม่ทรงละความอาลัยในพระบัลลังก์ ลำดับนั้น
พระศาสดาทรงทราบความวิตกของเทวดาทั้งหลาย ก็เหาะขึ้นสู่เวหาสทรงแสดง
ยมกปาฏิหาริย์ เพื่อระงับความวิตกของเทวดาเหล่านั้น ครั้นทรงระงับความ
วิตกของเทวดาทั้งหลาย ด้วยปาฏิหาริย์นี้อย่างนี้แล้ว ประทับยืน ณ ส่วนทิศ
อุดรอิงทิศปาจีนนิดหน่อย จากบัลลังก์ ทรงพระดำริว่า เราแทงตลอดพระ-
สัพพัญญุตญาณ. ณ บัลลังก์นี้แล้วหนอ ทรงสำรวจดูบัลลังก์และโพธิพฤกษ์
อันเป็นสถานที่ทรงบรรลุผาแห่งพระบารมีทั้งหลาย ที่ทรงบำเพ็ญมาตลอดสี่
อสงไขย. กับแสนกัป ด้วยดวงพระนครที่ไม่กระพริบ ทรงยับยั้งอยู่ 7 วัน
สถานที่นั้น ชื่อว่า อนิมิสเจดีย์.